วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554

วิธีติดตั้ง ThaiOS โดย VMware workstation

ThaiOS Linux Distribution

ThaiOS Linux เป็น Linux เป็นซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการที่สามารถใช้งานได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป และเป็น Linux ที่คนไทยเป็นคนสร้างขึ้น และ  ThaiOS มีความเป็นเอกภาพเป็นของตนเอง ความสามารถไม่ด้อยไปกว่า linux อื่นด้วย ขนาดของ linux อาจจะมากถึง 1GB แต่ความสามารถของ linux นี้ถือว่าไม่ด้อยไปเลย ซึ่งด้วย เทคโนโลยีในปัจจุบัน ไฟล์ขนาด 1GB สามารถเซพใส่ flash drive ได้สบายๆ
จึงทำให้สามารถ พกพาเอาไปลง linux เครื่องอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย

1. วิธีการลง VMware




 1.1 หน้าจอรอโหลดลง VMware


 1.2 ขั้นแรก ให้เราดับเบิ้ลคลิ๊กที่ตัวติดตั้ง จะดังภาพ ให้กด Next เพื่อดำเนินการติดตั้ง



1.3 เลือ type การติดตั้งว่าจะติดตั้งแบบ typical หรือ custom



1.4 เลือก Folder Path ที่จะติดตั้ง VMware Workstation แล้วกดถัดไป



1.5 software update ให้ติ๊กถูกที่ช่องแล้ว กด Next



1.6 เลือกว่าจะให้สร้าง Shortcut ไว้ที่ใดบ้าง แล้วกด Next


 1.7 กดที่ปุ่ม Continue เพื่อเริ่มการติดตั้ง



1.8 หน้าจอแสดงการติดตั้ง


1.9 ใส่ License แล้วกด Enter



1.10 เลือก Yes แล้วกด OK



1.11 หน้าจอ VMware


2. วิธีการติดตั้ง ThaiOS Linux



2.1  พอเราเข้ามาใน VMwear แล้วให้เรากดที่ File > New >Virtual Machine เพื่อที่จะสร้าง VMwear เปิด Linux



2.2   เมื่อเรากดแล้ว จะขึ้นดังรูป จะมีให้เราเลือก 2 หัวข้อ คือ Typical กับ Custom
ถ้าเลือก Typical คือจะให้โปรแกรมจัดการเลือกอันที่ไม่จำเป็นต่างๆให้เอง
แต่ถ้าเปน custom จะเป็นแบบ advance จะต้องเลือกทุกอย่างเองซื้อจะละเอียดกว่า Typical ในขั้นตอนนี้ผมจะเลือก custom นะครับเลือกแล้วกด next



2.3  ในขั้นตอนนี้ จะถามว่าเราจะ install ยังไง ในตัวเลือกแรกคือ ลงโดยใช่แผ่น เราจะต้องใส่แผ่น linux ที่ต้องการจะลงลงไป ในตัวเลือกที่ 2 จะเป็นการลงโดยใช้ file .iso เราจะต้องมีไฟล์ .iso ตัวที่จะลงก่อนถึงจะลงได้โดยกด browse แล้วเลือกไฟล์ "ชื่อlinux.iso" ตัวที่เราจะลง ส่วนตัวเลือกที่ 3 คือเรายังไม่ install แต่จะเอาไว้ลงในภายหลัง ในขั้นตอนนี้ ผมเลือก ข้อ 2 พอเลือกแล้ว กด next



2.4  ขั้นตอนนี้ โปรแกรมจะถามว่าเราจะใช้ OS ประเภทไหน ให้เราเลือก Linux เพราะเราจะลง Linux
และเลือก version ตามที่ linux ต้องใช้



2.5  ขั้นตอนนี้ ให้เราตั้งชื่อ VM ของเราและเลือก browse ที่จะ save เสร็จแล้ว next



2.6   ขั้นตอนนี้ คือเลือกการทำงาน จะให้มีหัวในการ processor กี่หัว เลือกไป 1พอแล้วกด next



2.7 เลือกว่าจะใช้ memory ram เท่าไหร่ จะมีกำหนดไว้ ของแต่ละ Linux แล้วแต่ว่าเราจะเลือกใช้ ram เท่าไหร่แต่ต้องมากกว่าที่กำหนดมาผมเลือกไป 1gb เลือกแล้วกด next



2.8   เลือก network connection อันแรกจะเป็นระบบ bridged networking จะเป็นแบบ ต่อ 2 network เข้าด้วยกันเอาไว้ใช้แทน network switch ตัวเลือกที่ 2 คือ ใช้ระบบ network address translation(NAT) เป็นการใช้ internet จาก เครื่อง host โดยใช้ IP host computer ที่ใช้โปรแกรม ส่วนตัวเลือกที่ 3 host-only networking




2.9   เลือก I/O Controller Type SCSI Controller คือ มาตรฐานในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง อุปกรณ์ ฮาด์ทแวร์ และบัส ควรเลือกอันที่ 2 เพราะเป็นอันที่โปรแกรม แนะนำ เมื่อเลือกเสร็จ ให้กด next





2.10  เลือก disk ที่จะเซพ อันแรกคือ สร้าง virtual disk อันใหม่เลย อันที่ 2 คือ ใช้ไฟล์อันเก่าไม่ต้องสร้างใหม่ ส่วนอันที่ 3 คือการกำหนดเองเป็นแบบ advance ในขั้นตอนนี้ เราเลือก create ใหม่เพื่อน
ส้รางใหม่เลย แล้วกด next


2.11  เป็นการกำหนด virtual disk type จะมี IDE และ SCSI เลือก SCSI เพราะ IDE เป็นมาตรฐานแบบเก่า ความเร็วต่ำมาก เอาไว้สำหรับเครื่อง HD ที่เป็น IDE แนะนำให้เลือก SCSIเพราะ ทางโปรแกรมแนะนำ และในสมัยนี้ส่วนใหญ่ใช้ SCSI เมื่อเลือกแล้วกด next






2.12  กำหนดขนาดของ disk ว่าจะใช้กี่ GB จะมีให้เลือก 2 อันด้านล่างคือจะเลือกเซพไฟล์เป็นไฟล์เดียวหรือหลายๆไฟล์ ถ้าเลือกหลายๆไฟล์จะง่ายต่อการเคลื่อนย้าย ข้อมูล ให้เลือก Single file ถ้าต้องการเก็บไฟล์เดียว เมื่อเลือกแล้วกด next






2.13  เลือก browse ที่จะทำการเซพไฟล์ไว้ เลือกแล้วกด next


2.14  สุดท้าย โปรแกรมจะบอกรายละเอียดต่างๆที่เราได้เลือกไปทั้งหมด ถ้าต้องการจะเปลี่ยนแปลงกดที่ปุ่ม customize hardware… ก็ได้ สามารถแก้ไขได้พอเสร็จแล้วกด finish



2.15  จะมีให้เลือก 2 อย่าง อันแรกคือการทดลองใช้ ส่วนอันที่ 2 คือ install linux Thaios ลง HD


     3. การลง ThaiOS Linux ใน HD



3.1  เลือก Install ThaiOS 10.04 เพื่อนที่จะติดตั้ง linux ลง HD




3.2   เลือกโซนเวลา ที่เราจะใช้ เลือกเป็นประเทศไทย เลือกเสร็จกด forwar




3.3  เลือก keyboard layout เลือกภาษาที่จะติดตั้งเป็น keyboard ผมเลือกเป็นมาตรฐาน คือข้อแรกเป็นภาษา USA แต่ถ้าจะเปลี่ยนภาษาให้เลือกอันที่ 3 แล้วหาภาษาที่ต้องการ แล้วกด forward



3.4  เป็นการแบ่ง partition ถ้าเลือกหัวข้อแรกจะเป็นดารแบ่งตามที่ กำหนดมาแล้ว ถ้าเลือกอันที่ 2 เราจะเป็นคนกำหนดเองว่าจะแบ่ง partition ยังไง ถ้าเลือกอันแรกก็ผ่านข้ามขั้นตอนไปได้เลย ผมเลือกอันที่ 2 แล้วกด forward


3.5  สร้าง partition กดที่ new partition table…



3.6  โปรแกรมจะถามประมาณว่า ถ้าเราสร้าง partition ใหม่ ข้อมูลใน partition เก่าจะหายไป จึงถามว่าจะทำต่อไปหรือไม่  ถ้ายังไม่ได้สำรองข้อมูลให้ไปทำการสำรองข้อมูลก่อนแล้วค่อยกลับมาลงห็ได้ ถ้าต้องการจะแบ่งแล้วให้กด continue




3.7 คลิกขวาที่ free space แล้วกด add เพื่อทำการแบ่ง partition


3.8  type partition จะที 2 แบบ คือ primary และ logical ที่เลือก primary เพราะจะให้ไดร์นี้เป็น partition หลัก ส่วน logical เป็น partition รอง ข้อที่ 2 คือจำนวน size ของ partition ให้ใส่ตามจำนวนที่ต้องการ ส่วนข้อที่ 3 คือเลือกว่าจะทำการเซพข้อมูลจากตรงไหน beginning จะเป็นแบบเขียนด้านช่วงแรกๆ ส่วน end เป็นการเซพข้อมูลโดยเขียนข้อมูลในด้านหลัง ในข้อที่ 4 เลือก file system ว่าจะเก็บไฟล์เป็นประเภทไหน ส่วนข้อที่ 5 mount point คือ part ที่อยู่ของข้อมูลต่างๆ พอทำการเลือกเสร็จ กด OK อันนี้สร้างให้เป็น ext4 แล้วเป็น partition หลัก


3.9  หลักจาก กด ok แล้วก็จะขึ้น partition ดังรูปมา 1 อัน ถ้าหากจะสร้าง partition อีกก็ทำตามแบบเดิม คลิกขวา กด add ที่ free space



3.10  สร้าง partition อีกอันเป็น แบบ ext4 อีกทีเพื่อนจะได้แบ่งเป็น 2 partition เสร็จแล้วกด OK



3.11  สร้าง partition ให้เป็น swap area อันนึง swap area เปรียบเสมือน virtual memory ทำหน้าที่แทน ram เมื่อ ram ถูกใช้งานจนเต็มพื้นที่ เมื่อกำหนดเสร็จกด OK




3.12  เมื่อกำหนด partition เสร็จแล้วให้กด forward


3.13  กำหนดชื่อ และ กำหนด username ที่เอาไว้ใช้ login และกำหนด password ในการ login ต่อมากำหนด ชื่อ computer มีให้เลือก 3 อัน อันแรกคือการกำหนดว่าให้ login เข้าอัตโนมัติ ข้อ 2 จะต้องใส่ username password เพื่อ login ข้อ 3 ต้องใส่ username password เพื่อน login และใส่เมื่อเรา เข้า
 home folder




3.14  หลังจากกด forward แล้ว กด advance จะมีให้กำหนดการ install boot loader ดังรูป boot loader คือ เมื่อเวลาเปิด computer จะเป็นการกำหนดว่าจะให้เริ่มทำงานที่ partition ไหนก่อน ไม่จำเป็นต้องกำหนดก็ได้เพราะโปรแกรมกดหนดไว้แล้ว ถ้ากดหนดเมื่อกำหนดเสร็จกด OK


3.15  ขั้นตอนนี้คือการบอกข้อมูลต่างๆที่เรากำหนดไว้ ทั้งหมด ให้เรากด Install เลย


3.16  นี่คือหน้าจอ install รอจนกว่าจะ install เสร็จ


3.17  ทำการ restart เมื่อ install เสร็จ


3.18  รอโหลด linux


3.19  เลือกเปนแบบไม่ใช้ไฟล์ .iso เพื่อนทดลองว่า ได้ลง linux ใส่ HD หรือยัง


3.20  หน้าตา destop ของ linux ThaiOs เสร็จ!


FINISH










































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น